วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

เน้นการออกกำลังกาย




น้นการออกกำลังกาย ( พิสิษฐ์  ธิติเลิศเดชา)
การออกกำลังกายในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง      การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง  การออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก  ซึ่งความหนักในการออกกำลังกายควรอยู่ในระดับปานกลาง  เช่น  การเดิน  เพราะสามารถ ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ดีพอ ๆ กับการออกกำลังกายในระดับหนัก เช่น การวิ่ง
ถ้าเคลื่อนไหวร่างกาย (physical  activity)  ถ้าเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นประจำ และทำอย่างสม่ำเสมอจะสามารถลด ชะลอ หรือป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง หรืออาจจะช่วยลดขนาด  และปริมาณการใช้ยา  ที่ต้องใช้ควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้  ฉะนั้น จึงควรปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตโดยการเพิ่มกิจกรรมทางกายและหมั่นออกกำลังกายให้มากขึ้น  พร้อมทั้งควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติควบคุมชนิดและประเภทของอาหาร ไม่ดื่มสุรา  และควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายมีผลต่อความดันโลหิตอย่างไร       การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ    จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีการเผาผลาญไขมันส่วนเกินเพิ่มขึ้น  และส่งผลทำให้ลดปริมาณของ         แอลดีแอล  คอเลสเตอรอล  ไตรกลีเซอไรด์  และที่สำคัญการออกกำลังกายจะไปช่วยเพิ่มปริมาณของเอชดีแอล  และเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือดส่งผลให้ความต้านทานเลือดส่วนปลายลดลง   ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าความดันซิสโตลิก (ตัวบน) และไดแอสโตลิก (ตัวล่าง)  ลดลงได้ถึง 8-10 มม.ปรอท    ส่วนผลในระยะยาวทำให้แพทย์สามารถลดปริมาณและขนาดที่ใช้คุมความดันโลหิตได้
การออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสม
1.     ประเภท   ควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก  คือ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง  เช่น  เดิน  วิ่ง  เหยาะ  ว่ายน้ำ  ขี่จักรยาน  เต้นแอโรบิก            รำมวยจีน  ถ้าท่านมีปัญหาปวดเข่า  ข้อเท้า  หรือสะโพก  ไม่สามารถออกกำลังที่ต้องอาศัยการยืนลงน้ำหนัก  ควรเลือกออกกำลังกายในน้ำ  เช่น  เดิน  วิ่ง เต้นแอโรบิกในน้ำ  หรือขี่จักรยานแต่ต้องปรับระดับของอานจักรยานให้เหมาะสม
2.     ความถี่  ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3  วันต่อสัปดาห์  หรือวันเว้นวัน
3.     ระยะเวลา   ควรทำอย่างต่อเนื่องนาน  15-20  นาทีในแต่ละครั้ง
4.     ระดับความหนักที่เหมาะสม  ให้รู้สึกเหนื่อยพอสมควร ยังพอพูดและคุยได้ อย่าให้เหนื่อยมากจนพูดไม่ออก  สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายหรือออกกำลังไม่สม่ำเสมอ  ควรเริ่มต้นโดยการออกกำลังกายในระดับเบา และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลา
สัปดาห์ที่  1  วันละ  1-2  ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที
สัปดาห์ที่  2  วันละ  1-2  ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที
สัปดาห์ที่  3  วันละ  1-2  ครั้ง ครั้งละ 20-25  นาที
สัปดาห์ที่  4   วันละ  1-2 ครั้ง ครั้งละ  25-30 นาที
    ถ้าเริ่มออกกำลังกายต่อเนื่องได้นาน 30 นาที  ครั้งต่อไปให้เริ่มออกกำลังกายในระดับที่หนักขึ้น  ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 4 หลังสัปดาห์ที่ 5-6 ค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาจนได้ 30-60นาที  ทำวันละ 1 รอบ หรือวันเว้นวัน



อ้างอิง  คู่มือดูแลสุขภาพ  รู้ทัน.... รู้ป้องกัน...ความดันโลหิตสูง     
ผศ.นพ. สมเกียรติ  แสงวัฒนาโรจน์